ร้าน พระเครื่องอุษาคเนย์✦✦Southeast Asia Amulets✦✦护身符东南亚✦✦
www.banpra-lakroy.99wat.com
092-546-2325
0925462325
|
|
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ กรุวังหน้า
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
บ้านพระหลักร้อย | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระสมเด็จวัดระฆัง-บางขุนพรหม-วัดเกศฯ-วังหน้า | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ กรุวังหน้า |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
-รับประกันความแท้ตามตำราและหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงธรรมชาติวิทยา -เป็นพระบ้านโดยแท้ ซึ่งคุณพ่อกิมเฮี้ยง แซ่อึ้ง ได้เริ่มเก็บสะสมวัตถุมงคลตั้งแต่ ปี 2488 และได้รับจากวัดและเจ้าอาวาสโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ -เฉพาะที่คุณพ่อเก็บไว้ก็กว่า 70 ปีแล้วครับ -การพิจารณาพระสมเด็จ 1.มีที่มา 2.มีพิมพ์ทรงตามตำรา 3.มีอายุความเก่าถึงยุคตามธรรมชาติ 4.มีมวลสาร เป็นต้น ******************* พระสกุลวัง สมเด็จวัดพระแก้ว สมเด็จวังหน้า ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว พระสกุลวัง ในความหมายนั้นหมายถึง พระที่จัดสร้างโดยเจ้านายฝ่ายในยุคก่อน โดยมีช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ มีความประณีตงดงามและแฝงด้วยนัยยะในพุทธศิลป์ พิธีพุทธาภิเษกโดยท่านผู้ทรงคุณอันวิเศษ อิทธิคุณภายในจึงเปี่ยมด้วยพลานุภาพ ผู้ศรัทธาและเข้าถึงได้จะประจักษ์แจ้งในองค์คุณนั้น ขอให้ทุกท่านที่มีความศรัทธาแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และศรัทธาพระสมเด็จสกุลนี้ได้ช่วยกันค้นคว้าหาหลักฐานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการดำรงไว้แห่งโบราณวัตถุที่เป็นมงคล และทรงคุณค่ายิ่ง พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า การจัดสร้างและบรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และบรรจุกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป เป็นวัดที่ไม่มีการประกอบสังฆกรรมใด ๆ และถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น พิธีไหว้ครู และพิธีครอบครู เป็นต้น) การจัดสร้างพระสมเด็จสกุลนี้มีหลายครั้งแต่ละครั้งมีความแตกต่างทั้ง พุทธศิลป์ แบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร ผู้สร้าง ผู้จัดสร้าง พระคณาจารย์ผู้พุทธาภิเษก ทั้งทันและไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในเวลาต่อมาได้มีการนำพระสมเด็จสกุลนี้นำเข้าบรรจุกรุเดียวกัน คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) รวมทั้งยังมีพระสมเด็จวัดระฆังจำนวนหนึ่งร่วมลงในกรุนี้ด้วย นอกจากนั้นในยุคหลัง ๆ ก็ยังมีการจัดสร้างพระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา พระเนื้อโลหะในแบบต่าง ๆ บรรจุกรุในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกหลายครั้ง เพื่อความเข้าใจในการศึกษาจึงจะขอเรียกชื่อพระสมเด็จสกุลนี้ว่า “พระสมเด็จวัดพระแก้ว” ตามสถานที่บรรจุ และค้นพบเป็นสำคัญ พระสมเด็จวังหน้า (บรรจุกรุวัดพระแก้ว) สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังษี ได้แสดงปฐมเทศนาครั้งในการเสด็จประภาสเยือนยุโรปเป็นครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานพัดยศเสมอองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าในสมัยนั้น ในการสร้างโดยหลวงสิทธิการ หลวงวิจารณ์เจียระไน จนจวบรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้แตกกรุออกมาจากวังหน้า และในพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้วมรกต ในพระมหาเจดีย์พระธาตุพนม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพัดยศแสดงออกถึงการได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะและเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) แบ่งการสร้างออกเป็น ๓ ช่วง ดังนี้ ๑. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า) ฝีพระหัตถ์การแกะพิมพ์เป็นบางส่วน โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ส่วนใหญ่ใช้แม่พิมพ์เดิมของพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่พบเป็นพิมพ์ประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ และปรกโพธิ์ ลักษณะเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดกรอบสี่ด้าน ปาดหลังด้วยวัสดุบางและมีคม ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสาร เนื้อมวลสารกังไส และเนื้อมวลสารปูนสอ คล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง แต่มีลักษณะที่แตกต่างจากการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้วใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และปี พ.ศ. ๒๔๒๕ หลายประการทั้งพุทธลักษณะ พิมพ์แม่แบบ และเนื้อมวลสาร ในเรื่องของวรรณเป็นวรรณขาวตั้งต้น เช่น ขาวนวลคล้ายมุก ขาวขุ่น ขาวใส ขาวอมชมพู ขาวอมเขียว ขาวอมฟ้า ขาวอมเหลืองอ่อน ขาวอมเทา ขาวอมน้ำตาล เป็นต้น มีผงทองนพคุณ ผงแร่รัตนชาติ ผงแร่เหล็กไหลเล็กน้อยเป็นบางองค์ ไม่ปรากฏวรรณเบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวัน ไม่ลงรัก และไม่ปิดทอง ด้านหลังขององค์พระบางส่วนโดยเฉพาะพิมพ์คะแนนจะปรากฏรูปสมอเรือ มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา พบการแตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท การพุทธาภิเษก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก โดยอทิสสมานกาย (อทิสสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหาร) ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชสำนักในพระบรมมหาราชวัง และประชาชนโดยทั่วไปเป็นบางส่วน ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการบรรจุกรุ ณ ที่ใด ๒. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และแกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่บางส่วนให้เหมือนกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดไชโย เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดี พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ฐานเจ็ดชั้น พิมพ์ฐานเก้าชั้น นอกจากนั้นยังพบพิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่อีกหลายพิมพ์เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร และทรงพิมพ์อื่น ๆ ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เช่น พิมพ์ชฎาหรหม พิมพ์ฉัตรสามชั้น พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ทรงคชสาร เป็นต้น ที่สำคัญได้พบพิมพ์พระประธานเป็นครั้งแรก (พิมพ์พระประธาน คือการจำลองแบบพระประธานในพระอุโบสถ มีพุทธลักษณะ ดังนี้ ปางสมาธิ พระพักตร์กลมใหญ่ พระเกศปลีเรียวยาวจรดซุ้ม มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยบนนิสีทนสันถัต ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม) ฝีพระหัตถ์และฝีมือการแกะพิมพ์ โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้าในรัชกาลที่ ๕ แม่พิมพ์เป็นลักษณะถอดยกแบบสองชิ้นประกบกันเป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ สมส่วนสง่างาม ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง จึงมีความงดงามมากจัดเป็นประณีตศิลป์ พบมีการแต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสารคล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง และเนื้อมวลสารกังไส หรืออาจเรียกว่าเนื้อน้ำมัน มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ *** จึงมีความละเอียดมากกว่าพระในสกุลสมเด็จใด ๆ สูตรการทำมีการพัฒนาไปมากจึงทำให้มีการยึดเกาะตัวของมวลสารสูง หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา พบส่วนที่แตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท วรรณเป็นสีขาว สีเหลืองหรดาล สีน้ำตาล สีดำ สีดำผงใบลาน เบญจสิริ และสีสิริมงคล (เบญจสิริ และสีสิริมงคล สีที่พบได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง สีขาว สีดำ) ที่สำคัญใช้แร่มวลสารที่เป็นมงคลในตัวเอง และหายากเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ผงทองนพคุณ ผงแร่รัตนชาติ (ผงแร่รัตนชาติ พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว) ผงแร่เหล็กไหล นอกจากนั้นยังพบหินอ่อนย่อยละเอียด (หินอ่อนจากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชที่ค้นพบอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอินทรวิหาร และวัดหงส์รัตนาราม) มีการลงรักสมุกสีดำ รักสมุกสีน้ำเงิน รักสมุกสีเหลือง และลงชาดสีแดง เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ คือลงชาดหนึ่ง และลงรักหนึ่ง แต่ไม่พบการปิดทอง ด้านหลังของพระจะปรากฏพระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ แต่พบเป็นส่วนน้อย เช่น ครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และมอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชบริภารในพระบรมหาราชวังเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า ๒. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เพื่อเป็นสิริมหามงคลการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังที่พัฒนาแล้วจาก ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และแกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่บางส่วนมีเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากนั้นยังพบพิมพ์ที่แกะขึ้นอีกมากมายหลายร้อยพิมพ์เป็นพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา ฝีมือการแกะพิมพ์สกุลช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์เป็นลักษณะถอดยกแบบสองชิ้นประกบกัน (จึงพบพระพิมพ์พิเศษ 2 หน้าได้ในกรุวัดพระแก้วบ่อยครั้ง) เป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ สมส่วนสง่างาม ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง จึงมีความงดงามมาก จัดเป็นประณีตศิลป์ พบมีการแต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะคล้ายกันกับการสร้างพระสมเด็จสกุลนี้ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ คือเนื้อมวลสารกังไส มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ สูตรการทำมีการพัฒนาไปมากจึงทำให้มีการยึดเกาะตัวของมวลสารสูง หนึบนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา พบส่วนที่แตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท วรรณเป็นสีขาว สีเหลืองหรดาล น้ำตาล สีดำ สีดำผงใบลาน เบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวัน (สำหรับวรรณเบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวันนั้นพบจำนวนค่อนข้างมากแต่มีลักษณะแตกต่างจากการสร้าง ใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ทั้งแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร และในเรื่องของสี) ที่สำคัญใช้แร่มวลสารที่หายากและมีคุณค่าเป็นส่วนประกอบได้แก่ ผงทองนพคุณ ผงแร่รัตนชาติ ผงแร่เหล็กไหล มีการลงรักสมุกสีดำ และลงชาดสีแดง ไม่ปิดทอง ด้านหลังของพระจะปรากฏพระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น ครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่พบเป็นส่วนน้อย ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานสงฆ์ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) วัดพระเชตุพน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑๐๘ รูป ทำพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในคราวนั้นได้ถวายแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทุกลำดับชั้น และประชาชนโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุใต้หลังคาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สำหรับการสร้างพระหลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๒๕ ในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ต่อในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ ยังมีการสร้างพระเนื้อผง เนื้อดินเผา และเนื้อโลหะบรรจุกรุที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกหลายครั้ง เช่น การจัดสร้างในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ การฉลองพระรูปทรงม้า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในรัชกาลที่ ๕ เป็นต้น แม้จะมีแบบพิมพ์ และวรรณคล้ายกับพระสมเด็จวัดพระแก้ว เช่น พิมพ์ประธาน และพิมพ์อื่น ๆ เนื้อมวลสารวรรณสีขาว เนื้อมวลสารวรรณสีสายรุ้งซึ่งหลายท่านเข้าใจว่าเป็นพระสมเด็จเบญจสิริ เนื้อมวลสารลงรักชาดปิดทองทับหนึ่งในสี่ของแผ่น และครึ่งแผ่นโดยปิดด้านหน้าและด้านหลัง เนื้อมวลสารบุทองทึบทั้งองค์ เนื้อดินเผาบุทองทึบทั้งองค์ มีการใช้อัญมณีและพลอยสีต่าง ๆ มาประดับ ลงเครื่องมุกแบบจีน จาลึก พ.ศ. เป็นต้น ด้านหลังจะปรากฏพระสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ บรรจุในสุวรรณเจดีย์ และเพดานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ไม่ได้ใช้มวลสารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นการสร้างและจัดสร้างโดยใช้ผงวิเศษและการพุทธาภิเษกของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นพระในสกุลพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวโดยสรุป พระสมเด็จวัดพระแก้วที่สร้างมีทั้งทัน และไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ***** ช่วงที่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้แก่การสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ และปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ ส่วนการสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่มอบไว้ให้ร่วมกับผงวิเศษที่เกจิอาจารย์ในยุคนั้นสร้าง (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ ***** แต่ถึงแม้ท่านมิได้พุทธาภิเษก แต่ก็ได้มอบผงวิเศษ และมวลสารสำคัญไว้ให้หลายส่วน เป็นมวลสารแห่งสุดยอดพระสูตรคาถามีพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างเป็นเลิศอเนกอนันต์) พระสมเด็จวัดพระแก้วผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (กรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นจำนวนหลายรูป ส่วนพิธีพุทธาภิเษกในแต่ละครั้งก็จัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามแบบโบราณราชประเพณี ถูกต้องตามหลักพิธีการ ในเรื่องของแบบพิมพ์มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ในรัชกาลที่ ๕ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบ และรูปทรงที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่ามีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี พม่า และประเทศในแถบยุโรป นอกจากนั้นยังได้พบผงแร่เหล็กไหล หินอ่อนย่อยละเอียดจากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชถือเป็นสิ่งสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่าง ๆ นั้น ค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรก ๆ ที่แต่เดิมจากการใส่ครกตำมาใช้เป็นเครื่องบด จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมากขึ้น ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงและคาดเดา อันเนื่องด้วยไม่พบการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่าซึ่งประมาณว่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน) ในทางศิลป์ถือได้ว่าเป็นสุดยอดในทางฝีมือการช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์และวิจิตรศิลป์) เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่า ในทางสิริมงคลจัดเป็นเป็นพุทธปฏิมา (องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) เป็นมงคลวัตถุที่มีพลังกฤติยาคม “พุทธคุณ และอิทธิคุณ” เป็นที่รวมแห่งสุดยอดของพระสูตรคาถา ************************ ประวัติที่มาของพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ววังหน้าพอรวบรวมมาได้ ดังนี้ ๑. ได้มาจากบริเวณวังหน้า (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) มีการแตกกรุมาประมาณช่วงปี 2503 เนื่องจากเจดีย์เก่าในบริเวณวัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสุทธาวาส ใกล้โรงละครแห่งชาติ องค์หนึ่งได้เกิดชำรุดหักพังลงมา ทำให้พระพิมพ์ไหลหล่นลงมาเป็นจำนวนมาก และนอกจากนั้นยังค้นพบบริเวณเพดานโบสถ์วัดบวรสุทธาวาส พระวังหน้าได้มีการสร้างมา ตั้งแต่สมัยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) และมีการสร้างจำนวนมากที่สุดในสมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี (ได้มีการสร้างพระมาตั้งแต่ดำรงราชอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศฯ ) ร่วมสร้างพระกับเจ้าคุณกรมท่า หรือ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) พระวังหน้าส่วนใหญ่ข้างหลังจะเรียบ และมีบ้างบางองค์ที่ข้างหลังมีตราครุฑ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงให้เจ้าฟ้าอิศราพงศ์และช่างของพระองค์แกะพิมพ์ถวายสมเด็จโตทำแจกพระประยูรญาติและเจ้านายผู้ใหญ่ ข้าราชบริภารในวังหน้า สมเด็จวังหน้ามีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่น พิมพ์เทวดาทรงเครื่อง พิมพ์ซุ้มระฆัง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์เศียรโล้น พิมพ์อุ้มบาตร พิมพ์ปิดตา พิมพ์ข้างเม็ด พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต บางพิมพ์ฝังอัญมณี มีจารึกไว้ข้างหลังและพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก พิมพ์นี้ค่อนข้างมาก มีการลงลักปิดทอง ปัจจุบันลักทองล่อนออกแล้ว พระพิมพ์ชุดนี้เป็นยุคกลางสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯพิมพ์จะสวยกว่าพิมพ์ชาวบ้าน ทำที่วังหน้าโดยเอาผงวิเศษมาทำแล้วให้ท่านปลุกเสกอีกครั้งก่อนแจก พระที่เหลือจากการแจกมีการบรรจุไว้ในเจดีย์วัดบวรสถานมงคล และเพดานโบสถ์ และนำไปบรรจุในเจดีย์ทองและเพดานโบสถ์วัดพระแก้ววังหลวง ๒. ได้มาจากวัดพระแก้ววังหลวง (หรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน) เช่น เพดานโบสถ์วัดพระแก้ว กรุเจดีย์ทอง เป็นต้น จากประวัติที่ทราบมามีการแตกกรุประมาณปี 2523 คนงานที่ไปซ่อมแซมวัดพระแก้วได้ลอบนำออกมาจำหน่ายแถวตลาดพระท่าพระจันทน์ และกระจายไปต่างจังหวัด พระวัดพระแก้วมีที่มีจากหลากหลายที่ เช่น วังหน้า วังหลวง วังหลัง เป็นต้น ได้มีการจัดสร้างหลายครั้งในวันสำคัญต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพิธีในสมัยรัชกาลที่ 5 ๓. ได้มาจากมรดกทอด เช่น พระที่มีการแจกในวัง หรือในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ผู้ที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชสำนัก ตลอดจนข้าราชบริพารฝ่ายนอกฝ่ายใน เป็นต้น จำนวนของพระและจำนวนพิมพ์ของพระกรุวัดพระแก้ว(วังหน้า) ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เนื่องจากไม่ได้มีการบันทึกไว้ แต่จากการสอบถามผู้ใหญ่พบว่ามีเป็นจำนวนมากเป็นจำนวนนับแสนองค์ |
|||||||||||||||
ราคา
|
20000 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
089-448-3434 | |||||||||||||||
ID LINE
|
tanetbty | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ยังไม่ส่งข้อมูล
|
|||||||||||||||
|